Curriculum and Instruction in English
หลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ 2
Listening Skill (ทักษะการฟัง)
Effective, modern methods of teaching listening skills encompass everything from interactive exercises to multimedia resources. Listening skills are best learned through simple, engaging activities that focus more on the learning process than on the final product. Whether you are working with a large group of students or a small one, you can use any of the following examples to develop your own methods for teaching students how to listen well.
Interpersonal Activities
One effective and nonthreatening way for students to develop stronger listening skills is through interpersonal activities, such as mock interviews and storytelling. Assign the students to small groups of two or three, and then give them a particular listening activity to accomplish. For example, you may have one student interview another for a job with a company or for an article in a newspaper. Even a storytelling activity, such as one that answers the question "What was your favorite movie from last year?" can give students the opportunity to ask one another questions and then to practice active listening skills.
Group Activities
Larger group activities also serve as a helpful method for teaching listening skills to students. You can begin with a simple group activity. For the first part, divide students into groups of five or larger and instruct them to learn one hobby or interest of at least two other group members. Encourage them to ask clarifying questions during the activity, and you may allow them to take notes if helpful. However, as time passes and their skills grow, you should limit students to only writing notes after the completion of the first part of the group activity. For the second part, have the students sit in a large circle, and then have each individual student share the name and the hobby or interest of the group members that she or he met. This second part of the group activity can also lend itself to additional listening exercises. For example, you may ask students to name a number of the hobbies and interests identified during the sharing session.
Audio Segments
- You can also teach listening skills through audio segments of radio programs, online podcasts, instructional lectures and other audio messages. You should model this interactive listening process in class with your students, and then instruct them to repeat the exercise on their own. First, instruct students to prepare for listening by considering anything that they will want to learn from the content of the audio segment. Once they have written down or shared these ideas, then play the audio segment, allowing the students to take notes if helpful. Once they have gained confidence and experience, repeat this activity but instruct students to not take notes until the completion of the audio segment. You can use shorter or longer audio segments, and you can choose more accessible or more challenging material for this type of exercise.
Video Segments
- Another helpful resource for teaching listening skills are video segments, including short sketches, news programs, documentary films, interview segments, and dramatic and comedic material. As with audio segments, select the portion and length of the video segment based on the skill level of your students. With your students, first watch the segment without any sound and discuss it together. Encourage the students to identify what they think will be the content of the segment. Then, watch the segment again, this time with sound, allowing students to take notes if helpful for their skill level. After the completion of the video segment, you can have students write a brief summary of the segment, or you can take time to discuss as a group how the segment compares with the students' expectations.
Instructional Tips
- Whatever method you use for teaching listening, keep a few key instructional tips in mind that will help both you and your students navigate the learning process. One, keep your expectations simple, as even the most experienced listener would be unable to completely and accurately recall the entirety of a message. Two, keep your directions accessible and build in opportunities for students not only to ask clarifying questions, but also to make mistakes. Three, help students navigate their communication anxiety by developing activities appropriate to their skill and confidence level, and then strengthen their confidence by celebrating the ways in which they do improve, no matter how small.
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอน ควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
...... การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
...... ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรืออภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้นกิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด
มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของหรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้วเช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของหรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้วเช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
คำสำคัญ ( Keywords)
............ 1. ทักษะการฟัง
............ 2. การฟังโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening)
............ 3. การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening)
............ 4. สถานการณ์ในการฟัง
............ 5. กิจกรรมในการสอนฟัง
............ 6. กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening)
............ 7. กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening)
............ 8. กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น