วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

Cooperative Learning

Design and Developing Learning 



Cooperative Learning

Elements of Cooperative Learning

Over the past twenty years different approaches to cooperative learning have been proposed by different individuals. The three most popular are those of David Johnson and Roger Johnson (Johnson et al., 1994), Robert Slavin (1994, 1995), and Shlomo Sharan and Yael Sharan (Sharan, 1995; Sharan & Sharan, 1994). To give you a general sense of what cooperative learning is like and to avoid limiting you to any one individual's approach, the following discussion is a synthesis of the main features of each approach.
Group Heterogeneity
The size of cooperative-learning groups is relatively small and as heterogeneous as circumstances allow. The recommended size is usually four to five students. At the very least, groups should contain both males and females and students of different ability levels. If possible, different ethnic backgrounds and social classes should be represented as well.
Group Goals/Positive Interdependence
A specific goal, such as a grade or a certificate of recognition, is identified for the group to attain. Students are told that they will have to support one another because the group goal can be achieved only if each member learns the material being taught (in the case of a task that culminates in an exam) or makes a specific contribution to the group's effort (in the case of a task that culminates in a presentation or a project).
Promotive Interaction
This element is made necessary by the existence of positive interdependence. Students are shown how to help each other overcome problems and complete whatever task has been assigned. This may involve episodes of peer tutoring, temporary assistance, exchanges of information and material, challenging of each other's reasoning, feedback, and encouragement to keep one another highly motivated.
Individual Accountability
This feature stipulates that each member of a group has to make a significant contribution to achieving the group's goal. This may be satisfied by achieving a minimal score on a test, having the group's test score be the sum or average of each student's quiz scores, or having each member be responsible for a particular part of a project (such as doing the research and writing for a particular part of a history report).
Interpersonal Skills
Positive interdependence and promotive interaction are not likely to occur if students do not know how to make the most of their face-to-face interactions. And you can safely assume that the interpersonal skills most students possess are probably not highly developed. As a result, they have to be taught such basic skills as leadership, decision making, trust building, clear communication, and conflict management. The conflict that arises over differences of opinion, for example, can be constructive if it is used as a stimulus to search for more information or to rethink one's conclusions. But it can destroy group cohesion and productivity if it results in students stubbornly clinging to a position or referring to each other as "stubborn," "dumb," or "nerdy."
Equal Opportunities for Success
Because cooperative groups are heterogeneous with respect to ability and their success depends on positive interdependence, promotive interaction, and individual accountability, it is important that steps be taken to ensure that all students have an opportunity to contribute to their team. You can do this by awarding points for degree of improvement over previous test scores, having students compete against comparable members of other teams in a game- or tournament-like atmosphere, or giving students learning assignments (such as math problems) that are geared to their current level of skill.
Team Competition
This may seem to be an odd entry in a list of cooperative-learning components, especially in light of the comments we made earlier about the ineffectiveness of competition as a spur to motivation. But we're not being contradictory. The main problem with competition is that it is rarely used appropriately. When competition occurs between well-matched competitors, is done in the absence of a norm-referenced grading system, and is not used too frequently, it can be an effective way to motivate students to cooperate with each other.

Cooperative Learning in Multicultural Education Programs
The general idea behind cooperative learning is that by working in small heterogeneous groups (of four or five students total) and by helping one another master the various aspects of a particular task, students will be more motivated to learn, will learn more than if they had to work independently, and will forge stronger interpersonal relationships than they would by working alone.
There are several forms of cooperative learning, one of which is Student Team Learning. Student Team Learning techniques are built on the concepts of team reward, individual accountability, and equal opportunities for success. Team reward means that teams are not in competition with one another for limited rewards. All of the teams, some of them, or none of them may earn whatever rewards are made available depending on how well the team's performance matches a predetermined standard. Individual accountability means that each member of the team must perform at a certain level (on a quiz, for example) for the team's effort to be judged successful. It is not permissible for one team member's above-average performance to compensate for another team member's below-average performance. Finally, equal opportunities for success allow students of all ability levels to contribute to their team's success by improving on their own past performances (Slavin, 1995).
Robert Slavin (1995), a leading exponent of cooperative learning, reports that cooperative learning produced significantly higher levels of achievement than did noncooperative arrangements in sixty-three of ninety-nine studies (64 percent). The results for the Student Team Learning programs have been the most consistently positive. Of particular relevance to this chapter are the findings that students who cooperate in learning are more apt to list as friends peers from different ethnic groups and are better able to take the perspective of a classmate than are students who do not work in cooperative groups.
Although cooperative learning is a generally effective instructional tactic, it is likely to be particularly useful with Hispanic-American and Native American students. Children from both cultures often come from extended families that emphasize cooperation and sharing. Thus, these students may be more prepared than other individuals to work productively as part of a group by carrying out their own responsibilities as well as helping others do the same (Sadker & Sadker, 1991; Soldier, 1989).

Suggestions for Teaching in Your Classroom: Using Cooperative Learning Methods
Cooperative-learning methods have proven effective in increasing motivation for learning and self-esteem, redirecting attributions for success and failure, fostering positive feelings toward classmates, and increasing performance on tests of comprehension, reasoning, and problem solving (Johnson & Johnson, 1995; Johnson et al., 1995; Slavin, 1995). Accordingly, you may want to try one or more of the cooperative-learning techniques described by Johnson and Johnson (Johnson et al., 1994) and Slavin (1995). To familiarize you with these methods, we will briefly describe the Student Teams-Achievement Divisions (STAD) method devised by Slavin and his associates at Johns Hopkins University.
STAD is one of the simplest and most flexible of the cooperative-learning methods, having been used in grades 2 through 12 and in such diverse subject areas as math, language arts, social studies, and science. As with other cooperative-learning methods, students are assigned to four- or five-member groups, with each group mirroring the make-up of the class in terms of ability, background, and gender. Once these assignments are made, a four-step cycle is initiated: teach, team study, test, and recognition. The teaching phase begins with the presentation of material, usually in a lecture-discussion format. Students should be told what it is they are going to learn and why it is important. During team study, group members work cooperatively with teacher-provided worksheets and answer sheets. Next, each student individually takes a quiz. Using a scoring system that ranges from 0 to 30 points and reflects degree of individual improvement over previous quiz scores, the teacher scores the papers. Each team receives one of three recognition awards, depending on the average number of points earned by the team. For example, teams that average 15 to 19 improvement points receive a GOOD TEAM certificate, teams that average 20 to 24 improvement points receive a GREAT TEAM certificate, and teams that average 25 to 30 improvement points receive a SUPER TEAM certificate.
The cooperative methods developed by the Johnsons are similar to those developed by Slavin, but with two exceptions: these methods place a greater emphasis on teaching students how to productively work together, and they recommend using team grades, rather than certificates or other forms of recognition, as positive reinforcers.


การเรียนการสอนแบบร่วมมือ Coorperative learning




การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ
1. ความหมายการจัดการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ
การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือหรือร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้
พรรณรัศมิ์ เงาธรรมสาร กล่าวว่า การเรียนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเรียนเป็นกลุ่มเล็ก สมาชิกในกลุ่มจะมีความสามารถที่แตกต่างกัน ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรับผิดชอบการทำงานของตนเองเท่ากับรับผิดชอบการทำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มด้วย
(บุญครอง ศรีนวล. 2543 :9)
บุญครอง ศรีนวล (2543 : 10) กล่าวถึง การเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นการเรียนเป็นกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มเกิดการเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในการช่วยให้กลุ่มประสบความผลสำเร็จ รวมทั้งการฝึกทักษะทางสังคมให้เกิดกับผู้เรียนด้วย
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่าการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน และสนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
2. เป้าหมายและลักษณะของผลผลิตของการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ
การจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือหรือร่วมมือกันเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทัศนคติและค่านิยมในตัวนักเรียนที่จำเป็นทั้งในและนอกห้องเรียน การจำลองรูปแบบพฤติกรรมทางสังคมที่พึงประสงค์ในห้องเรียน การเสนอแนะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวความคิดที่หลากหลายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การพัฒนาพฤติกรรมการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ และการคิดอย่างมีเหตุผล รวมทั้งการพัฒนาลักษณะของผู้เรียนให้รู้จักตนเองและเพิ่มคุณค่าของตนเอง จากกิจกรรมดังกล่าวจะมีผลต่อผู้เรียน โดยสรุปใน 3 ประการ คือ
1. ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน (Cognitive Knowledge)
2. ทักษะทางสังคม โดยเฉพาะทักษะการทำงานร่วมกัน (Social Skills)
3. การรู้จักตนเองและตระหนักในคุณค่าของตนเอง (Self-Esteem)
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ
บุญครอง ศรีนวล (2543 : 11 – 13) ได้รวบรวมแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือไว้ ดังนี้  Slavin กล่าวว่าการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนให้ความสามารถเฉพาะตัวแทนและศักยภาพในตนเองและร่วมมือแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ โดยสมาชิกในกลุ่มตระหนักว่าตระหนักว่าแต่ละคนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ทั้งนี้นักเรียนจะรู้สึกถึงคุณค่าของตนเองที่เพิ่มขึ้น เพราะว่านักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม นอกจากนั้นการสอนแบบกลุ่มร่วมมือยังก่อให้เกิดบรรยากาศที่นักเรียนได้พูดคุยกัน เป็นการช่วยให้นักเรียนและเพื่อนเข้าใจปัญหาชัดเจนยิ่งขึ้น การที่นักเรียนสามารถอธิบายให้เพื่อนฟังได้เป็นการยกระดับความเข้าใจให้ชัดเจนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สำหรับบทบาทของครูที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมต้องไม่ถือว่าตนเองเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในชั้นเรียนเดียวกัน แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้นักเรียนสามารถค้นหาความรู้ได้จากการร่วมมือกันเรียนรู้ ซึ่งเกิดจากการกระทำของตนเองและจากเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
นอกจากนี้ Juyce and Wiel ได้กล่าวว่า เทคนิคการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือเป็นเทคนิคที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านสติปัญญา ให้เกิดการเรียนรู้จนบรรลุถึงขีดความสามารถสูงสุดได้ โดยมีเพื่อนในวัยเดียวกัน กลุ่มเดียวกันเป็นผู้คอยแนะนำหรือช่วยเหลือ ทั้งนี้เนื่องจากผู้เรียนที่อยู่ในวัยเดียวกัน ย่อมจะมีการใช้ภาษาสื่อสารที่เข้าใจกันง่ายกว่าครูผู้สอน ซึ่งการเรียนการสอนแบบกลุ่มร่วมมือมีหลักที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงอยู่ 3 ประการ คือ
1. มีรางวัลหรือเป้าหมายของกลุ่ม
2. ความหมายของแต่ละบุคคลในกลุ่ม
3. สมาชิกในกลุ่มมีโอกาสในการช่วยเหลือให้กลุ่มประสบผลสำเร็จได้เท่าเทียมกัน

4. รูปแบบการสอน
สุลัดดา ลอยฟ้า (2537 : ไม่มีเลขหน้า) ได้กล่าวถึงรูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือว่า แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ ตามแนวคิดของ Robert Slavin และคณะจาก John Hopkins University ได้พัฒนาเทคนิคการสอนแบบกลุ่มร่วมมือต่าง ๆ เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ดังนี้
1.1 STAD (Student Teams – Achievement Division) เป็นรูปแบบการสอนที่สามารถดัดแปลงใช้ได้เกือบทุกวิชาและทุกระดับชั้น เพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะทางสังคมเป็นสำคัญ
1.2 TGT (Team Games Tournament) เป็นรูปแบบการสอนที่คล้ายกับ STAD แต่เป็นการจูงใจในการเรียนยิ่งขึ้น โดยการใช้การแข่งขันเกมแทนการทดสอบย่อย
1.3 TAI (Team Assisted Individualization) เป็นรูปแบบการสอนที่ผสมผสานแนวความคิดระหว่างการสอนแบบกลุ่มร่วมมือกับการสอนรายบุคคล รูปแบบการสอน TAI เป็นการประยุกต์ใช้กับการสอนคณิตศาสตร์
1.4 CIRC (Cooperative Integrate Reading and Composition) เป็นรูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือแบบผสมผสาน ที่มุ่งพัฒนาขึ้นเพื่อสอนการอ่านและการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยเฉพาะ
1.5 Jigsaw ผู้คิดค้นการสอนแบบ Jigsaw เริ่มแรกคือ Elliot – Aranson และคณะ (1978) หลังจากนั้น Slavin ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาปรับขยายเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือมากยิ่งขึ้น ยิ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับวิชาที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย เช่น สังคมศึกษา วรรณคดี บางส่วนของวิชาวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวิชาอื่น ๆ ที่เน้นการพัฒนาความรู้ความเข้าใจมากกว่าการพัฒนาทักษะ
2. รูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือตามแนวคิดของ David Johnson และคณะจากมหาวิทยาลัย Minnessota (1989) ได้พัฒนารูปแบบการสอนแบบกลุ่มร่วมมือ โดยยึดหลักการเบื้องต้น 5 ประการด้วยกัน คือ
2.1 การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Positive In Interdepence)
2.2 การปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว (Face to Face promotive Interaction)
2.3 ความหมายและทักษะความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่ม (Individual Accountability)
2.4 ทักษะทางสังคม (Social Skills)
2.5 กระบวนการกลุ่ม (Group Processing)
3. รูปแบบการสอนแบบร่วมมือในงานเฉพาะอย่าง เช่น Group Investigation ของ Shlomo และ
Yael Sharan , co-op-co-op


 Multiple Intelligence


Howard Gardner's Multiple Intelligence: A Theory for Everyone


Being intelligent does not always mean that someone tests well -- a problem with which teachers and school administrators have struggled since the earliest days of organized education. Howard Gardner's theory of multiple intelligences helps educators think differently about "IQ,"  and about what being "smart" means. The theory is changing the way some teachers teach.
When Howard Gardner's book, Frames of Mind: The Theory of Multiple Intelligences (Basic Books, 1983) burst on the scene, it seemed to answer many questions for experienced teachers. We all had students who didn't fit the mold; we knew the students were bright, but they didn't excel on tests. Gardner's claim that there are several different kinds of intelligence gave us and others involved with teaching and learning a way of beginning to understand those students. We would look at what they could do well, instead of what they could not do.
Later Gardner books, such as The Unschooled Mind: How Children Think and How Schools Should Teach (Basic Books, 1991) and Multiple Intelligences: The Theory in Practice (Basic Books, 1993) helped us understand how multiple intelligences could help us teach and evaluate our students in new and better ways.


THE ORIGINAL SEVEN INTELLIGENCES

Howard Gardner first identified and introduced to us seven different kinds of intelligence inFrames of Mind.
  • Linguistic intelligence: a sensitivity to the meaning and order of words.
  • Logical-mathematical intelligence: ability in mathematics and other complex logical systems.
  • Musical intelligence: the ability to understand and create music. Musicians, composers and dancers show a heightened musical intelligence.
  • Spatial intelligence: the ability to "think in pictures," to perceive the visual world accurately, and recreate (or alter) it in the mind or on paper. Spatial intelligence is highly developed in artists, architects, designers and sculptors.
  • Bodily-kinesthetic intelligence: the ability to use one's body in a skilled way, for self-expression or toward a goal. Mimes, dancers, basketball players, and actors are among those who display bodily-kinesthetic intelligence.
  • Interpersonal intelligence: an ability to perceive and understand other individuals -- their moods, desires, and motivations. Political and religious leaders, skilled parents and teachers, and therapists use this intelligence.
  • Intrapersonal intelligence: an understanding of one's own emotions. Some novelists and or counselors use their own experience to guide others.
Then, Gardner identified an eighth intelligence, the naturalist intelligence.

IMPLEMENTING GARDNER'S THEORY IN THE CLASSROOM

When asked how educators should implement the theory of multiple intelligences, Gardner says, "(I)t's very important that a teacher take individual differences among kids very seriously The bottom line is a deep interest in children and how their minds are different from one another, and in helping them use their minds well."
An awareness of multiple-intelligence theory has stimulated teachers to find more ways of helping all students in their classes. Some schools do this by adapting curriculum. In "Variations on a Theme: How Teachers Interpret MI Theory," (Educational Leadership, September 1997), Linda Campbell describes five approaches to curriculum change:
  • Lesson design. Some schools focus on lesson design. This might involve team teaching ("teachers focusing on their own intelligence strengths"), using all or several of the intelligences in their lessons, or asking student opinions about the best way to teach and learn certain topics.
  • Interdisciplinary units. Secondary schools often include interdisciplinary units.
  • Student projects. Students can learn to "initiate and manage complex projects" when they are creating student projects.
  • Assessments. Assessments are devised which allow students to show what they have learned. Sometimes this takes the form of allowing each student to devise the way he or she will be assessed, while meeting the teacher's criteria for quality.
  • Apprenticeships. Apprenticeships can allow students to "gain mastery of a valued skill gradually, with effort and discipline over time." Gardner feels that apprenticeships "should take up about one-third of a student's schooling experience."
With an understanding of Gardner's theory of multiple intelligences, teachers, school administrators, and parents can better understand the learners in their midst. They can allow students to safely explore and learn in many ways, and they can help students direct their own learning. Adults can help students understand and appreciate their strengths, and identify real-world activities that will stimulate more learning.





ทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (Multiple Intelligence)

การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน

ทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน
คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว
นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น